หน้าแรก >หลักสูตร >ระดับชั้นประถมศึกษา

ระดับชั้นประถมศึกษา

ภารกิจหลักของครูผู้สอนคือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ ผู้เรียนมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน ผู้สอน ทุกคนต้องรู้ว่าความรู้ที่ตนเองกำลังจะสอนคืออะไร มีอะไรบ้าง และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อย่างไรมีวิธีการใดบ้างที่ให้โอกาสผู้เรียน ได้สร้างความรู้ขึ้นในโครงสร้างความรู้ของผู้เรียน และ ผู้สอนจะประเมินด้วยวิธีใดเพื่อให้รู้ว่า ผู้เรียนมีความรู้นั้น ๆ เกิดขึ้น และสามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้น ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเรียนรู้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ได้มีนักการศึกษา ได้ให้แนวคิดซึ่งคณะครูของโรงเรียนวารีเชียงใหม่ ได้นำมาเป็นหลักการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน คือ กระบวนการทางปัญญา ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี และ หลักการเกี่ยวกับความสามารถที่หลากหลาย ของสมองมนุษย์ ของ Howard Gardner โดยมีรายละเอียดที่สอดคล้องกันดังนี้


แนวคิดหลักการกระบวนการทางปัญญา มีทั้งหมด 10 กระบวนการ

โดย นายแพทย์ประเวศ วะศรี

  • ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เราเห็น หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ไปดูนก ดูผีเสื้อ หรือในการทำงาน การฝึกสังเกตจะทำให้เกิดปัญญามาก โลกทรรศน์ และวิธีคิด สติ-สมาธิ จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกตและสิ่งที่สังเกต
  • ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก โดยจะวาดรูปหรือ บันทึกข้อความ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดิโอ ละเอียดมากน้อยตามวัยและตามสถานการณ์ การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา
  • ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุมกลุ่ม เมื่อมีการทำงานกลุ่ม เราไปเรียนรู้อะไรมา บันทึกอะไรมา จะนำเสนอให้เพื่อนหรือครูรู้เรื่องได้อย่างไร ก็ต้องฝึกการนำเสนอ การนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนาปัญญาทั้งของผู้นำเสนอและของกลุ่ม
  • ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักฟังคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้น โบราณเรียกว่าเป็นพหูสูต บางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิดของตนเอง หรือมีความฝังใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเรื่องอื่นเข้าไม่ได้ ฉันทะ สติ สมาธิ จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น
  • ฝึกปุจฉา-วิสัชนา เมื่อมีการนำเสนอและการฟังแล้ว ฝึกปุจฉา-วิสัชนา หรือถาม-ตอบ ต้องเป็นการฝึกใช้เหตุผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้น ๆ ถ้าเราฟังครูโดยไม่ถาม-ตอบ ก็จะไม่แจ่มแจ้ง
  • ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้วเรา ต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่าสิ่งนี้คืออะไร สิ่งนั้นเกิดจากอะไร อะไรมี ประยชน์ ทำอย่างไร จะสำเร็จประโยชน์อันนั้น และมีการฝึกการตั้งคำถาม ถ้ากลุ่มช่วยกันคิดคำถามที่มีคุณค่าและมีความสำคัญก็จะอยากได้คำตอบ
  • ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วก็ควรไปค้นหาคำตอบ จากหนังสือ จากตำรา จากอินเตอร์เน็ต หรือไปคุยกับคนเฒ่าคนแก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่สำคัญ จะสนุกและทำให้ได้ความรู้มาก ต่างจากการท่องหนังสือโดยไม่มี คำถาม บางคำถามเมื่อค้นหาคำตอบ ทุกวิถีทางจนหมดแล้วก็ไม่พบ แต่คำถามยังอยู่ และมีความสำคัญ ต้องหาคำตอบต่อไปด้วยการวิจัย
  • การวิจัย การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวน การเรียนรู้ทุกระดับ การวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดความภูมิใจ สนุกและมีประโยชน์มาก
  • เชื่อมโยงบูรณาการ คือการให้มองภาพรวมที่เชื่อมโยงกัน และ มีความสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไรให้ต่อเนื่องกันเป็นเรื่องเดียวกัน
  • ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ กระบวนการเรียนรู้และความรู้ใหม่ที่ได้มา การเรียบเรียงทางวิชาการเป็นการเรียบเรียง ความคิดให้ประณีตขึ้น ทำให้ค้นคว้าหาหลักฐาน ที่มาที่อ้างอิงของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยำขึ้น การเรียบเรียงทางวิชาการจึงเป็นการพัฒนาปัญญาของตนเองอย่างสำคัญและเป็นประโยชน์ ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป

หลักสูตรระดับชั้นประถมศึกษา

ผลงานนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา



Honda Super Idea 2020 ผลงาน The Opening key
น้องเวนดี้ ด.ญ. Zimo Yang
นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนวารีเชียงใหม่


Honda Super Idea 2020 ผลงาน แว่นตาเทอร์โมมิเตอร์
น้องเอ๋ย ป.5 ด.ญ.วรีรัตน์ นันทสุขเกษม
นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนวารีเชียงใหม่